หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

โปรแกรม Flash คืออะไร ?

โปรแกรม Flash คืออะไร ?
โปรแกรม Flash เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย, ภาพเคลื่อนไหว (Animation), ภาพกราฟิกที่มีความคมชัด เนื่องจากเป็นกราฟิกแบบเว็คเตอร์(Vector), สามารถเล่นเสียงและวีดิโอ แบบสเตริโอได้, สามารถสร้างงานให้โต้ตอบกับ
ผู้ใช้
(Interactive Multimedia) มีฟังก์ชั่นสำหรับการเขียนโปรแกรม (Action Script) และยังทำงานในลักษณะ CGI โดยเชื่อมต่อกับ
การเขียนโปรแกรมภาษาอื่นๆ ได้มากมาย เช่น ภาษา
 PHP, JSP, ASP, ASP.NET, C/C++, C#, C#.NET, VB, VB.NET, JAVAและอื่นๆ โดยเฉพาะข้อดีของโปรแกรม Flash คือ ความสามารถในการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก มีผลทำให้แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังแปลงไฟล์ไปอยู่ในฟอร์แมตอื่น ได้หลากหลาย เช่น avi, mov, gif, wav, emf,eps, ai, dxf, bmp, jpg, gif, png เป็นต้น
โปรแกรม Flash เริ่มมีชื่อเสียงประมาณปี พ.ศ. 2539 จนถึง ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะเทคโนโลยีเว็บ ทำให้การนำเสนอทำได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนั้น โปรแกรม Flash ยังสามารถสร้างแอพพลิเคชั่น (Application) เพื่อใช้ทำงานต่างๆ รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ที่ เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และทำงานได้กับหลายๆ แฟลตฟอร์ม (Platform)
เจ้าของผลิตภัณฑ์
Adobe Flash(อะโดบี แฟลช)
ซึ่งยังหมายถึง Macromedia Flash Player 
และโปรแกรมอื่น ๆ ที่ใช้ในการเขียนสื่อมัลติมีเดียที่เอาไว้ใช้สร้างเนื้อหาเกี่ยวกับ Flash ซึ่งตัว Flash Player พัฒนาและเผยแพร่โดย อะโดบีซิสเต็มส์ 
(เริ่มต้นพัฒนาโดยบริษัท ฟิวเจอร์แวร์ ตอนหลังเปลี่ยนเป็น แมโครมีเดีย 
ซึ่งภายหลังถูกควบรวมกิจการเข้ากับ Adobe
[spaces:0]
.swf
ไฟล์ .swf เป็นไฟล์ที่สมบูรณ์, ถูก compiled แล้ว ไม่สามารถแก้ไขได้อีก
สามารถเล่นได้ในเครื่องที่ติดตั้งโปรแกรม Flash Player
.fla
ไฟล์ .fla เป็นไฟล์ต้นฉบับของโปรแกรม Flash โปรแกรมที่ใช้เขียน Flash สามารถแก้ไขได้ และ compile ให้เป็นไฟล์ .swf ได้
.flv
ไฟล์ .exe เป็นไฟล์ที่ถูก compiled แล้ว เป็น Application ซึ่งได้รวมเอาโปรแกรมเสริม (Flash Player) เข้าไว้ด้วยกันไม่สามารถแก้ไขได้
สามารถเล่นได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องที่ไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมเสริม
2. การเปิดใช้งานโปรแกรม

วิธีที่ 1 ดับเบิลคลิกรูปสัญลักษณ์ icon Desktop ดังภาพ   
 วิธีที่ 2 คลิกปุ่ม Start > Programs > Macromedia > Macromedia Flash 8
โปรแกรมจะเริ่มทำงานแล้วเข้าสู่หน้าต่างต้อนรับดังภาพ
3. ส่วนประกอบของโปรแกรม Flash 8

หมายเลข 1 คือ
Title Bar แสดงปุ่มควบคุมหลัก (Control Menu) ชื่อโปรแกรม และปุ่มควบคุมหน้าต่างโปรแกรม
หมายเลข 2 คือ
 Menu Bar แสดงรายการคำสั่งต่างๆ ของโปรแกรม
หมายเลข 3 คือ
Toolbar แสดงปุ่มเครื่องมือการทำงานมาตรฐานของโปรแกรม เช่น ปุ่มเปิดงานใหม่เปิดไฟล์เอกสาร, จัดเก็บไฟล์ เป็นต้น
หมายเลข 4 คือ
Toolbox แสดงปุ่มเครื่องมือเกี่ยวกับการวาดภาพ สร้างภาพ
หมายเลข 5 คือ
Timeline หน้าต่างแสดงเส้นควบคุมเวลาสำหรับการนำเสนอผลงาน ประกอบด้วยส่วนทำงาน  เกี่ยวกับ Layer และ Timeline
หมายเลข 6 คือ
Stage พื้นที่ส่วนที่ใช้ในการวางวัตถุต่างๆ หรืออาจจะเรียกว่า "เวที"
เมื่อมีการนำเสนอผลงานจะ แสดงเฉพาะวัตถุบน Stage เท่านั้น
หมายเลข 7 คือ
Panel หน้าต่างควบคุมฟังก์ชันงาน ซึ่งมีหลายฟังก์ชัน (หลายหน้าต่าง)


แถบคำสั่ง (Menu Bar)
แถบคำสั่ง (Menu bar) ประกอบด้วยคำสั่งต่าง ๆ สำหรับใช้งานทั่วไป เหมือนโปรแกรมอื่น ๆ
ได้แก่ เมน ูFile, Edit, Insert, Modify, Text, Commands, Control, Windows และ Help
      
แถบเครื่องมือ (Tool Bar)
            

ในการเปิดใช้งานครั้งแรกแถบเครื่องมือจะไม่แสดงให้คลิกที่เมนู Windows > Toolbars > แล้วคลิกทำเครื่องหมายถูกที่ Main, Controller และ Edit Bar ดังภาพ
         
 
        

กล่องเครื่องมือ (Toolbox)
กล่องเครื่องมือ (Toolbox) เป็นส่วนที่เก็บเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น แบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ เพื่อสะดวกในการเรียกใช้งาน ดังภาพ
 

1. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับเลือก
  

2. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับวาดและตกแต่งภาพ
  

3. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับปรับมุมมอง
 

4. รายละเอียดกลุ่มเครื่องมือสำหรับปรับสีเส้นและสีพื้นหลัง

5. ถาดเครื่อง (Palate Tool) อยู่ด้านขวามือของหน้าจอเช่น ถาดปรับแต่งสี ถาดเก็บทรัพยกรต่างๆ
ถาดปรับแต่งสี (Color Mixer Palate)ใช้เลือกสีเส้นและสีพื้นหลังรวมถึงผสมสีแบบต่างๆ
ถาดเก็บทรัพยากรต่างๆ (Library Palate) เช่น ซิมโบล เสียง ภาพ วิดีโอ เป็นต้น

Timeline Frame และ Layer
Timeline เป็นส่วนที่กำหนดความสั้นยาวของมูฟวี่ (Movie)Frame    เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลซึ่งอาจเป็นคำสั่ง รูปภาพหรือข้อความที่แสดงให้ผู้ชมได้เห็น 
Layer      เป็นส่วนที่เก็บข้อมูล แยกออกจากกันเป็นชั้นๆเหมือนแผ่นใสเพื่อง่ายต่อการจัดการและแก้ไข
Stage     เป็นพื้นที่แสดงมูฟวี่ (Movie) ที่อยู่ในเฟรม (Frame) และ เลเยอร์ (Layer)
 


 1. ปุ่มแสดงหรือซ่อน Timeline
 2.
 เลเยอร์ เฟรมจะต้องวางบนเลเยอร
 3.
 ปุ่มซ่อนและแสดงข้อมูลบนเลเยอร์
 4.
 ปุ่มอนุญาตให้แก้ไขและป้องการแก้ไข
    ข้อมูลบนเลเยอร์
 

 5.
 เพลย์เฮดหัวอ่านเฟรมแต่ละช่อง
 6.
 หมายเลขประจำเฟรม
 7.
 เฟรม เปรียบเหมือนช่องเก็บเหตุการณ์ของมูฟวี่
 8.
 ปุ่มสร้างเลเยอร์ใหม่
 9.
 ปุ่มสร้างไกด์เลเยอร์
10.
ปุ่มสร้างโฟล์เดอร์เลเยอร์
11. ปุ่มลบเลเยอร์
12.
 ปุ่มเซ็นเตอร์เฟรม
13.
 ปุ่มโอเนียน สกิน
14.
 ปุ่มโอเนียน สกินแบบโครงร่าง
15.
 ปุ่มแก้ไขเฟรมหลายเฟรมพร้อมกัน
16.
 ปุ่มโอเนียนมาร์คเกอร์
17.
 บอกตำแหน่งหมายเลขเฟรมในขณะทำงาน18. บอกความเร็วการแสดงกี่เฟรมต่อวินาที19. เวลาที่ใช้ในการมูฟวี่

ที่มา:http://www.kroojan.com/flash/content/flash-intro.html

Animation จากFlash ที่น่าสนใจ


Animation จากFlash ที่น่าสนใจ

















กาารวาดภาพการ์ตูนด้วย Flash


วิดิโอสอนคนวาด

                          นี่คือวิดิโอที่ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านโปรแกรมFlash ได้ทำไว้ และเห็นว่ามีประโยชน์จึงได้นำมาแบ่งบันแก่เพื่อนๆ หวังว่าจะได้เทคนิคดีๆไปใช้นะค่ะ













การวาดฉากกับโปรแกรมFlash

การใช้งาน Scene

ในการทำ animation ต่าง ๆ เช่น การ์ตูน แน่นอนว่าจะต้องแบ่งเป็นตอน ๆ หรือ ฉาก ๆ ใน flash ก็เช่นกัน เมื่อ animation ของเรามีความยาว หรือซับซ้อนมาก ก็แบ่งออกเป็นฉาก ๆ ได้ โดยใ้ช้ Scene เพราะว่าใน flash player นั้นจะทำการเล่นเมื่อมีเฟรมไม่เกิน 16,000 เฟรม ถ้ามากกว่านี้ก็จะไม่เล่น และถ้า animation ของเรามีความยาวมากกว่า 16,000 เฟรมล่ะ จะทำยังไง Scene เป็นตัวเลือกหนึ่งในนั้น




ซีน (Scene)
       คือ ฉากหรือตอนของมูฟวี่ เปรียบได้กับฉากหนึ่ง ๆ ในภาพยนตร์หรือละคร ซึ่งจะมีการเปลี่ยนสถานที่เกิดเหตุการณ์และตัวละครที่แตกต่างกันไป โดยแต่ละซีนจะมีไทม์ไลน์ของตัวเอง ประโยชน์ของการแบ่งซีนใน Flash ก็เพื่อช่วยลดความสับสนในกรณีที่มูฟวี่มีความยาวมาก ๆ ทำให้ง่ายต่อการสร้าง จัดการ และแก้ไข ในมูฟวี่ที่มีหลายซีน Flash จะเล่นแต่ละซีนเรียงกันไปตามลำดับโดยอัตโนมัติ ยกเว้นจะมีการใช้คำสั่ง ActionScript ควบคุมให้เป็นอย่างอื่น โดยปกติเมื่อเปิดโปรแกรม Flash ขึ้นมา โปรแกรมจะทำการกำหนดให้ทำงานอยู่ใน Scene 1 อย่างอัตโนมัติ ดังรูป













หน้าต่างซีน (Scene Window)
       การเรียกใช้หน้าต่าง Scene มีประโยชน์มากสำหรับการสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วย Scene โดยจะสามารถเพิ่ม Scene ใหม่ คัดลอก Scene เปลี่ยนชื่อ Scene หรือ ลบ Scene ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการเปิดหน้าต่าง Scene ทำได้โดยใช้เมาส์คลิกที่เมนู Window > Other Panels > Scene หรือกดปุ่ม <Shift+F2> บนคีย์บอร์ด จะเกิดหน้าต่าง Scene ดังรูป











การเพิ่ม Scene
       การเพิ่ม Scene ใหม่เข้าไปมีด้วยกันหลายวิธี แต่การเพิ่ม Scene ในหน้าต่าง Scene เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุด เพราะนอกจากจะเพิ่ม Scene แล้ว ยังมากสามารถจัดการกับ Scene ได้อย่างสะดวกอีกด้วย วิธีการเพิ่ม Scene ใหม่ มีดังนี้
       1. ที่หน้าต่าง Scene ใช้เมาส์กดปุ่ม + 
       2. จะ้มี Scene ใหม่เพิ่มขึ้นมาชื่อว่า Scene 2 ดังรูป







  
     
การลบ Scene
       การลบ Scene ที่ไม่ต้องการใช้งาน สามารถทำได้ดังนี้
       1. ที่หน้าต่าง Scene ใช้เมาส์คลิกเลือกชื่อ Scene ที่ต้องการลบ
       2. จากนั้นใช้เมาส์คลิกที่รูปถังขยะ  1 ครั้ง ดังรูป









       3. จะเกิดหน้าต่างถามยืนยันการลบ Scene ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อยืนยันการลบ Scene ดังรูป







การเปลี่ยนชื่อ Scene
       การเปลี่ยนชื่อ Scene มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ชื่อ Scene มีความสอดคล้องกับชิ้นงานบนสเตจ โดยการเปลี่ยนชื่อ Scene สามารถทำได้ดังนี้
       1. ที่หน้าต่าง Scene ใช้เมาส์ดับเบิ้ลคลิกชื่อ Scene ที่ต้องการเปลี่ยนชื่อ

       







       2. พิมพ์ชื่อใหม่ต้องการลงในช่องที่ดับเบิ้ลคลิก เมื่อเสร็จเรียบร้อยกดปุ่ม <Enter> Scene จะ้ถูกเปลี่ยนชื่อตามต้องการ









การคัดลอก Scene
       1. ที่หน้าต่าง Scene ใช้เมาส์คลิกเลือกชื่อ Scene ที่ต้องการคัดลอก จากนั้นใช้เมาส์คลิกปุ่ม Duplicate Scene ดังรูป









       2. จะปรากฏ Scene ใหม่ ดังรูป ซึ่ง Scene ใหม่ที่ได้จะมีคุณสมบัติเหมือนกับต้นฉบับทุกประการ











 ที่มา:http://www.acr.ac.th/acr/ACR_E-Learning/CAREER_COMPUTER/COMPUTER/M4/Flash/chapter9.html


การวาดการ์ตูนแบบน่ารักๆ แนวญี่ปุ่นง่ายๆ





การวาดส่วนต่างๆของคน

1 เรื่องใบหน้า

ใบหน้าหลักๆของคน จะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ตามภาพคือ
1 ช่วงหน้าผาก
2 ช่วงตาถึงปลายจมูก
3 ช่วงปลายจมูกถึงคาง
การวาดใบหน้ามุมต่างๆ มองรูปทรงใบหน้าให้เป็น 3 มิตินะค่ะ เป็นส่วนของวงกลมกับวงรีที่ถูกตัดส่วนท้ายออกไปนะค่ะ ดูตามภาพประกอบจะเข้าใจค่ะ เวลาวาดขึ้นเป็นรูปทรงเรขาคณิตตามแบบค่ะ แล้วก็แบบ 3ส่วนเติมใบหน้าตามตำแหน่งตามหลักการการวาดใบหน้าค่ะ คราวนี้ไม่ว่ามุมไหนเราก็วาดหน้าคนได้ค่ะ
2 วันนี้เรื่องต่อไปที่จะอัพคือการวาดร่างกาย
อันนี้ถ้าบางคนพอทราบมาจะมีการแบ่งแล้วแต่ตำราบ้างก็แบ่ง 7 บ้างก็ 7.5 แต่ที่จะนำมาสอนนี้เป็นการแบ่งแบบ 8ส่วนค่ะ
จำง่ายๆคือแบ่งครึ่งค่ะ
ท่อนบนจากบนศรีษะถึงเป่ากางเกง 4 ส่วน
ท่อนล่างจากเป้าถึงพื้นค่ะ- ในท่อนล่างแบ่งครึ่งอีกเป็นขาท่อนล่าง,ท่อนบน)


หลักการให้ขีดเส้น9 เส้น ที่มีช่องไฟที่เท่ากัน 8 ส่วนค่ะ แล้วก็ลองวาดหุ่นตามแบบโดยวางสัดส่วนตามภาพ คือ หัวประมาณ 1 ส่วน
ช่วงตัวลง ประมาณ 2 ส่วนค่ะ
ช่วงเอวถึงเป้าอีก 1ส่วนค่ะ
ช่วงขาบนประมาณ 2 ส่วน
ช่วงขาล่างถึงเท้า ประมาณ 2 ส่วนค่ะ
สังเกตุนะค่ะว่า ข้อศอกจะอยู่ประมาณเอว ส่วนข้อมือจะเลยจากเป้ากางเกงมานิดนึงค่ะ*
ลองวาดหุ่นแบบนี้ให้ชินมือนะค่ะจนจำได้ว่าอะไรอยู่ส่วนไหน เสร็จแล้วลองวาดหันข้างค่ะ หรือหันหลัง
ขั้นต่อมาก็ลองจับขยับค่ะ หรือทำท่าทางแปลกๆ ง่ายๆก็ลองตีเส้น 9 เส้นนี้ลงในกระดาษยาวๆ แล้ววาดท่าทางการเดินลงไปค่ะ
เมื่อมั่นใจแล้วก็ลองเขียนท่านั่งค่ะเอานั่งเก้าอี้ก่อนตี 7 เส้นค่ะได้ 6 ส่วน ท่อนบน 4 ส่วน อีก 2ส่วนคือท่อนขาล่างที่ห้อยลงมาค่ะ เดี๋ยวทำรูปประกอบให้ภายหลังนะค่ะ
ถ้าวาดคล่องแล้วก็ลองใส่เสื้อผ้าหน้าตานะค่ะ หุ่นที่เราขี้นเป็นไกด์นะค่ะ เราสามารถปรับเส้นโค้งเส้นเอาท์ไลน์ได้ค่ะ

3 เรื่องต่อมาค่ะเรื่องทรงผม
ตามภาพเลยค่ะทรงผมขั้นพื้นฐานที่นำมาสร้างความแตกต่างให้ตัวละครได้
หลักการวาดผมก็วาดเส้นหลักๆห่างๆก่อนค่ะแล้วค่อยลงเส้นแบ่งย่อยๆ โดยดูทิศทางของแสงเงา ส่วนที่ถูกซ้อนทับกันมากก็ลงเส้นถี่ค่ะ ข้อควรระวังการลงผมคืออย่าลงให้ช่อผมเท่ากันหมดมันจะแข็งค่ะ ต้องrandom นะ








การวาดโครงหน้า


การวาดตา




การวาดการ์ตูนSD



ที่มา: http://kanitha.exteen.com/20050903/entry